แผนกวิชาบริหารธุรกิจ วษ.ท. อุบลราชธานี

เว็บไซต์เพื่อการศึกษา

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
>การศึกษาอาชีพด้านการเกษตรและบริหารธุรกิจ และอุตสาหกรรม ผู้เรียนจำต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงควบคู่กับทฤษฎีและการวิจัย การมีสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ได้ศึกษาต่อยอดระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีสาขาการเกษตรที่สนใจ จะทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศดีขึ้น พัฒนาคนได้ตรงจุด
แผนกวิชาบริหารธุรกิจ >> บทความแผนกวิชาฯ >> หลักสูตรการสอน >> หลักสูตรที่เปิดสอนปีการศึกษา 2555

หลักสูตรที่เปิดสอนปีการศึกษา 2555

พิมพ์ PDF

หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา  2555

      ในปีการศึกษา  2555  แผนกวิชาบริหารธุรกิจวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี ได้เปิดสอนในหลักสูตรต่าง ๆ  คือ 
      1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชา พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานการบัญชี และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีจำนวนเรียนทั้งส้น 50  คน แยกตามชั้นปีได้ดังนี้
         1.1 ปวช. 1 สาขาวิชาพณิชยการ 
               1.1.1 สาขางานการบัญชี  จำนวน  14  คน (หญิง)
               1.1.2 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน  7  คน (ชาย 2 คน หญิง 5 คน)
         1.2 ปวช. 2 สาขาวิชาพณิชยการ 
               1.2.1 สาขางานการบัญชี จำนวน  16 คน (หญิง 16 คน)
               1.2.2 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน  4  คน (หญิง 4 คน)
         1.3 ปวช. 3 สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานการบัญชีจำนวน  8 คน (ชาย 1 คน หญิง 7 คน)
      2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชา พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ และประเภทวิชาเกษตรกรรม มีจำนวนผู้เรียนทั้งสิ้น  47  คน แยกตามชั้นปีได้ดังนี้
         2.1 ปวส. 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน  7  คน (หญิง) 
         2.2 ปวส. 1 สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 8 คน (ปกติ 7 คน) ระบบออนไลน์ 1 คน 
         2.3 ปวส. 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน  4 คน (หญิง 4 คน)
         2.4 ปวส. 2 สาขาวิชาการบัญชี  
               2.4.1 การบัญชีทวิ จำนวน  17 คน (หญิง 15 คน ชาย 2 คน)
               2.4.2 การบัญชีออนไลน์       5 คน (หญิง 5 คน)
         2.5 ปวส. 2 สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 7 คน (ชาย)

     3. ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับกิจกรรม อกท. โดยใช้อาชีพเป็นฐาน (Project Base Learning) อยางน้อย 1 ภาคเรียน  1  โครงการ ทุกสาขาวิชา เพื่อบูรณาการความรู้ ทักษะ ประสบการณ์สู่อาชีพ  จากอาชีพสู่วิชาการ ทำให้ผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษา คิดเป็น  ทำเป็น   แก้ปัญหาเป็น ฝึกฝนการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ส่งเสริมการฝึกทักษะวิชาชีพ การเลื่อนระดับของสมาชิก อกท. และการบริการวิชาชีพสู่ชุมชน

แนวทางจัดการศึกษาระบบออนไลน์

        1. ระดับ ปวช. จัดแผนการเรียนตลอดหลักสูตร 6 ภาคเรียน ระดับ ปวส. จัดแผนการเรียนตลอดหลักสูตร 4 ภาคเรียน ปรับแผนการเรียน และหลักสูตรรายวิชาให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและผู้เรียน ทั้งสองระดับผู้เรียนลงทะเบียนเรียนได้ทั้งทางไปรษณีย์ และด้วยตัวเองที่วิทยาลัยฯ
      
2. ลงทะเบียนเข้าเรี่ยนตามหลักสูตร  รับการปฐมนิเทศตามวันเวลาทีกำหนด รับเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคการศึกษา พร้อมคู่มือการฝึกงาน การทำโครงการ และการเรียนผ่าน Moodle e-learning
       3. เรียนรู้จากเอกสารประกอบการสอน สื่อการเรียนอิเลคทรอนิคส์ การเรียนผ่าน Moodle e-learning การติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนผ่าน โทรศัพท์ หรือ email และการพบกลุ่มสัมมนาปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
       4. ใช้งานอาชีพที่ผู้เรียนปฏิบัติอยู่ประจำเป็นฐานปฏิบัติงานอาชีพเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาตามแผนการเรียน เพื่อให้เกิดทักษะปฏิบัติงาน กิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในงานอาชีพ
        5.กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพของสถานศึกษา ลงทะเบียนและเรียนรายวิชากิจกรรมพัฒนาองค์กรวิชาชีพ คุณภาพชีวิต และสังคม 5-8 เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพอย่างเต็มภาคภูมิ
       
        6. การวัดและประเมินผล 
            6.1 วัดผลจากการเข้ารับการปฐมนิเทศ  การพบกล่มสัมนาปฏิบัติการ  บันทึกความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานประจำที่สะท้อนการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การค้นคว้ารายงานมอบหมาย การทำแบบฝึกปฏิบัติ และแบบทดสอบผ่าน โปรแกรม Moodle e-learning และการเข้ารับการสรุปผลปลายภาคเรียนตามแผนการเรียนที่กำหนดด้วยตนเอง
            6.2 ประเมินผลเป็นรายวิชา จากคะแนนที่ทำได้ทั้งหมดประกอบกับสภาพจริงของความตั้งใจใฝ่เรียนและปฏิบัติ  ตัดสินผลการเรียนแบบอิงเกณฑ์แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ
                  6.2.1 ช่วงคะแนนดิบ  80-100 ได้เกรด 4 = ดีเยี่ยม
                  6.2.2 ช่วงคะแนนดิบ  75-79   ได้เกรด 3.5 = ดีมาก              
                  6.2.3 ช่วงคะแนนดิบ  70-74   ได้เกรด 3 = ดี              
                  6.2.4 ช่วงคะแนนดิบ  65-69   ได้เกรด 2.5 = ปานกลาง              
                  6.2.5 ช่วงคะแนนดิบ  60-64   ได้เกรด 2 = พอใช้              
                  6.2.6 ช่วงคะแนนดิบ  55-59   ได้เกรด 1.5 = ค่อนข้างอ่อน
                  6.2.7 ช่วงคะแนนดิบ  50-54   ได้เกรด 1 = อ่อน
                  6.2.8 ช่วงคะแนนดิบ  0-49     ได้เกรด 0 = ไม่ผ่าน
         7. ผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีผลการเรียนผ่านรายวิชาครบโครงสร้างหลักสูตรตามแผนการเรียน มีเกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป และสอบมาตรฐานวิชาชีพผ่าน
         8. ก่อนสำเร็จการศึกษาเข้ารับการอบรมพัฒนาตามกำหนดการและสถานที่ที่วิทยาลัยจัดให้ เพีอพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ รับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสอบมาตรฐานวิชาชีพ ใช้เวลา 3-5 วัน (ตามความเหมาะสม)
         9. ผู้เข้าเรียนตามหลักสูตรระบบนี้ ควรมีคอมพิวเตอร์พิซี หรือโน๊ตบุ๊ค คุณลักษณะขั้นต่ำสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ควบคู่ไปกับการทำงานประจำวัน และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้อย่างมีคุณภาพ

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 09 สิงหาคม 2012 เวลา 05:19 น.  

พยากรณ์อากาศ


เข้าสู่ระบบ

เคาน์เตอร์ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้124
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้48
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้576
mod_vvisit_counterสัปดาห์ก่อน621
mod_vvisit_counterเดือนนี้3345
mod_vvisit_counterเดือนก่อน3661
mod_vvisit_counterรวมทุกวัน409325

สถิติผู้เข้าชม

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 158241

บุคคลออนไลน์ขณะนี้

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

โพลล์

ความพึงพอใจต่อการดาวโหลดเอกสารหน้าเว็บ