แผนกวิชาบริหารธุรกิจ วษ.ท. อุบลราชธานี

เว็บไซต์เพื่อการศึกษา

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
>การศึกษาอาชีพด้านการเกษตรและบริหารธุรกิจ และอุตสาหกรรม ผู้เรียนจำต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงควบคู่กับทฤษฎีและการวิจัย การมีสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ได้ศึกษาต่อยอดระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีสาขาการเกษตรที่สนใจ จะทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศดีขึ้น พัฒนาคนได้ตรงจุด
แผนกวิชาบริหารธุรกิจ >> ประกันคุณภาพ >> การประกันคุณภาพภายใน >> การประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2552

การประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2552

พิมพ์
ดัชนีบทความ
การประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา 2552
หน้า 2
หน้า 3
หน้า 4
ทุกหน้า

การประกันคุณภาพภายในปีการศึกษา  2552

      ในปีการศึกษา 2552 การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ให้ประกันคุณภาพถึงแผนกวิชา โดยใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสำหรับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมงที่พัฒนาขึ้นภายใต้มาตฐานการอาชีวศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 เพื่อให้สถานศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาให้เกิดคุณภาพ  และใช้กำกับติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัด  ประกอบด้วย 7 มาตรฐาน 45 ตัวบ่งชี้

 มาตรฐาน 7 มาตรฐาน ประกอบด้วย 

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนและสำเร็จการศึกษาวิชาชีพเกษตรกรรมและประมง  12 ตัวบ่งชี้  คือ
      ตัวบ่งชี้ที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดตามชั้นปี
      ตัวบ่งชี้ที่ 2 ร้อยละของผู้เรียนที่สามารถประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานอาชีพอย่างเป็นระบบ
      ตัวบ่งชี้ที่ 3 ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
      ตัวบ่งชี้ที่ 4 ร้อยละของผู้เรียนทีมีความสามารถใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
      ตัวบ่งชี้ที่ 5 ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามในวิชาชีพ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
      ตัวบ่งชี้ที่ 6 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา ทีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 7 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา ทีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
     ตัวบ่งชี้ที่ 8 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
     ตัวบ่งชี้ที่ 9 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
     ตัวบ่งชี้ที่ 10 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำในสถานประกอบการ/ ประกอบอาชีพอิสระและศึกษาต่อภายใน  1 ปี
     ตัวบ่งชี้ที่ 11 ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการ ทีมีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษา
     ตัวบ่งชี้ที่ 12 ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามในวิชาชีพ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี


มาตรฐานที่ 2 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน  17 ตัวบ่งชี้ คือ
      ตัวบ่งชี้ที่ 13 ร้อยละของหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีคุณภาพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 14 ร้อยละของแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 15 สถานศึกษาจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย (ร้อยละของผู้เรียนที่จัดทำโครงการวิชาชีพทางการเกษตร)
      ตัวบ่งชี้ที่ 16 ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการสอนของครูผู้สอน (ใช้มาตรวัด 5 ระดับ)
      ตัวบ่งชี้ที่ 17 ร้อยละของงบประมาณที่สถานศึกษาจัดซื้อวัสดุฝึก อุปกรณ์ สำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
      ตัวบ่งชี้ที่ 18 ระดับความเหมาะสมและเพียงพอของระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละสาขาวิชา
      ตัวบ่งชี้ที่ 19 ระดับความเหมาะสมในการจัดอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน พื้นที่ฝึกปฏิบัติงานเหมาะสมกับวิชาที่เรียน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเกิดประโยชน์สูงสุด
      ตัวบ่งชี้ที่ 20 ระดับคุณภาพการบริหารและการจัดการระบบงานฟาร์มให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงธุรกิจ
      ตัวบ่งชี้ที่ 21 ระดับความเหมาะสมในการจัดศูนย์วิทยบริการ ให้เหมาะสมกับวิชาที่เรียน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเกิดประโยชน์สูงสุด
      ตัวบ่งชี้ที่ 22 ระดับความเหมาะสมในการจัดให้มีครุภัณฑ์ และอุปกรณ์
      ตัวบ่งชี้ที่ 23 ระดับคุณภาพการจัดระบบความปลอดภัย ของสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในสาขาวิชา/สาขางาน
      ตัวบ่งชี้ที่ 24 ร้อยละของบุคลากรภายในสถานศึกษาได้รับการพัฒนาตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ
      ตัวบ่งชี้ที่ 25 จำนวนครั้งหรือปริมาณในการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 26 จำนวนสถานประกอบการที่มีการจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
      ตัวบ่งชี้ที่ 27 จำนวนคน-ชั่วโมงของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน
      ตัวบ่งชี้ที่ 28 อัตราส่วนของผู้สอนประจำที่มีคุณวุฒิวิชาชีพต่อผู้เรียนในแต่ละสาขาวิชา
      ตัวบ่งชี้ที่ 29 อัตราส่วนของผู้สอนประจำต่อผู้เรียน

 


มาตรฐานที่ 3 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  5  ตัวบ่งชี้ คือ
      ตัวบ่งชี้ที่ 30 จำนวนครั้งของการจัดให้ผู้เรียนพบครูที่ปรึกษา
      ตัวบ่งชี้ที่ 31 จำนวนครั้งของการจัดบริการตรวจสุขภาพ และตรวจสารเสพติดให้กับผู้เรียน
      ตัวบ่งชี้ที่ 32 ร้อยละของผู้เรียนที่ออกกลางคันเมื่อเทียบกับแรกเข้า
      ตัวบ่งชี้ที่ 33 จำนวนครั้งของกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมด้านวิชาการ  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมที่ดีงามในวิชาชีพ รวมทั้งด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ให้กับผู้เรียนทุกสาขาวิชา/ทุกสาขางาน
      ตัวบ่งชี้ที่ 34 จำนวนครั้งของกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มาตรฐานที่ 4 การบริการวิชาชีพสู่สังคม  2 ตัวบ่งชี้ คือ
      ตัวบ่งชี้ที่ 35 จำนวนและประสิทธิผลของกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาชีพและฝึกทักษะวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 36 ร้อยละของงบประมาณในการจัดกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาชีพและฝึกทักษะวิชีพต่องบดำเนินการ

มาตรฐานที่ 5 นวัตกรรมและการวิจัย  4 ตัวบ่งชี้ คือ
      ตัวบ่งชี้ที่ 37 จำนวนนวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยและโครงการวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 38 จำนวนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย โครงงานที่มีประโยชน์ทางวิชาชีพและ/หรือได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ
      ตัวบ่งชี้ที่ 39 ร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการสร้าง พัฒนา และเผยแพร่นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย และโครงงานต่องบดำเนินการ
      ตัวบ่งชี้ที่ 40 จำนวนครั้งและช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเก่ยวกับนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์  งานวิจัยและโครงงาน

มาตรฐานที่ 6 ภาวะผู้นำและการจัดการ  3  ตัวบ่งชี้
      ตัวบ่งชี้ที่ 41 ระดับคุณภาพการบริหารงานของผู้บริหารที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และการมีส่วนร่วมของประชาคมอาชีวศึกษา ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
      ตัวบ่งชี้ที่ 42 ร้อยละของบุคลากรในสถานศึกษาที่สามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณมาตรฐานวิชาชีพ
      ตัวบ่งชี้ที่ 43 ระดับคุณภาพของการจัดระบบสารสนเทศ และการจัดการความรู้ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 7 มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน 2 ตัวบ่งชี้
      ตัวบ่งชี้ที่ 44 สถานศึกษามีกลไกระบบการประกันคุณภาพ ด้านโครงสร้างการบริหาร บุคลากร  การปฏิบัติงาน ตามพันธกิจ
      ตัวบ่งชี้ที่ 45 ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน


นิยามศัพท์

      มาตรฐานอาชีวศึกษา  หมายถึง  ข้อกำหนดในกาจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา  เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำกับ ดูแล  ตรวจสอบ ประเมินผล และประกันคุณภาพการจัดอาชีวศึกษา โดยใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานนของสถานศึกษา อันเป็นกลไกสำคัญในการประกันคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามที่ต้องการ

      ข้อกำหนด  หมายถึง  ข้อความที่กำหนดให้สถานศึกษามีการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา

      ตัวบ่งชี้  หมายถึง  ตัวประกอบ ตัวแปร ค่าที่สังเกตได้ ซึ่งใช้บ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนถึงลักษณะของทรัพยากรในการดำเนินงน หรือผลการดำเนินงาน ในการจัดอาชีวศึกษาตามข้อกำหนดและใช้เป็นตัวตัดสินความสำเร็จหรือคุณค่าการดำเนินงาน หรือผลการดำเนินงานที่ได้รับ

      ผู้บริหาร  หมายถึง ผู้อำนวยการ  รองผู้อำนวยการ  หัวหน้าคณะวิชา หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างานที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

      ครู  หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน 

      บุคลากรสายสนับสนุน หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนทางการศึกษา ให้บริการในสถานศึกษา เช่น ข้าราชการพลเรือน เจ้าหน้าที่ คนงาน นักการภารโรง ยาม ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

      แผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้  หมายถึง  เอกสารที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตร ประกอบด้วยหัวข้อและเนื้อหารสาระครบถ้วนตามรายละเอียดของวิชา โดยมีสาระครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้  และการประเมินผลการเรียนรู้

      แผนการเรียน หมายถึง การจัดรายวิชาต่าง ๆ  ตามโครงสร้างหลักสูตรและเกณฑ์การใช้หลักสูตรเพื่อจัดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาตามลำดับ  จนครบตามกำหนดในโครงสร้างหลักสูตรแต่ละประเภทวิชา/สาขาวิชา/สาขางาน

     งบดำเนินการ  หมายถึง  เงินในงบประมาณ ได้แก่ งบบุคลากร  งบดำเนินงาน งบดุดหนุน งบรายจ่ายอ่น ค่าเสี่อมราคา  ยกเว้นงบลงทุน และเงินนอกงบประมาณ ได้แก่ เงินบำรุงการศึกษา เงินที่ได้จากการระดมทรัพยากร เงินรายได้ อื่น ๆ

     งบลงทุน หมายถึง  รายจ่ายเพื่อการลงทุน  ได้แก่  รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์  ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

     ปริมาณงาน 1 คน-ชั่วโมง (man-hour) หมายถึง ปริมาณงานที่คนหนี่งคนทำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง คำนวนได้จาก

                ปริมาณงาน = ผลรวม (คน x เวลา)  มีหน่วยเป็น คน-ชั่วโมง (man-hour)

                ตัวอย่าง 2 man-hour  คือปริมาณงานที่คนหนึ่งคนทำงานสองชั่วโมงหรือคนสองคนทำงานคนละชัวโมง

     หลักสูตรฐานสมรรถนะ หมายถึง หลักสูตรอาชีวศึกษาที่ได้พัฒนามาจากมาตรฐานอาชีพของแต่ละอาชีพ

     ข้อมูลแสดงความตระหนัก  หมายถึง  หลักฐานหรือเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นหรือให้ความสำคัญของสถานศึกษาต่อตัวบ่งชี้ที่จะนำไปสู่การรรลุตามข้อกำหนด  ได้แก่  ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ แผนพัฒนาสถานศึกษา  แผนปฏิบัติงานประจำปี  รายงานการประชุม  แผนการจัดการเรียนรู้

     ข้อมูลแสดงการปฏิบัติ หมายถึง  หลักฐานหรือเอกสารที่แสดงถึงร่องรอยการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามข้อกำหนด

     ข้อมูลแสดงความสำเร็จ  หมายถึง  หลักฐานหรือเอกสารที่แสดงถึงผลการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด

     โครงการที่มีประสิทธิผล  หมายถึง  โครงการที่ดำเนินงานได้ผลตามเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

     วงจรคุณภาพ  หมายถึง  วงจรการทำงานที่ก่อให้เกิดคุณภาพของเดมมิ่งประกอบด้วย 
                                   การวางแผนการทำงาน (P)
                                   การดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (D)
                                   การตรวจสอบการดำเนินงาน (C) และ
                                   การนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงการดำเนินงาน (A)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 04:44 น.  

พยากรณ์อากาศ


เข้าสู่ระบบ

เคาน์เตอร์ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้21
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้101
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้394
mod_vvisit_counterสัปดาห์ก่อน802
mod_vvisit_counterเดือนนี้2382
mod_vvisit_counterเดือนก่อน3739
mod_vvisit_counterรวมทุกวัน412101

สถิติผู้เข้าชม

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 159321

บุคคลออนไลน์ขณะนี้

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

โพลล์

ความพึงพอใจต่อการดาวโหลดเอกสารหน้าเว็บ